audit.msu.ac.th
เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้, ถาม-ตอบปัญหาคาใจ, แนะนำ, ประกาศ, หรือทุกสิ่งตามต้องการ
ฐานความผิดในการยักยอกเงินรายได้และเงินแผ่นดิน
พอดีหาข้อมูลเกี่ยวกับเงินรายได้และเงินแผ่นดิน
..............................................................................................................
อยากทราบข้อมูลฐานความผิด เกี่ยวกับการยักยอกเงินรายได้และเงินแผ่นดินว่ามีความผิดแบบไหน และพอจะยกตัวอย่างได้หรือไม่ว่าเมื่อมีการยักยอกแล้วจะเป็นอย่างไร
คน มอ
10.100.63.* [ 15 พ.ย. 2554 เวลา 16:58 ]
ตอบคำถามนี้
ตอบ : Q0117 -
คน มอ
[15 พ.ย. 2554]
นับว่าเป็นคำถามที่ดีอันเป็นประโยชน์ต่อผู้ปฏิบัติโดยตรง....และขออนุญาตนำข้อมูลของ พ.ต.ท. ศักกพล สุขปาน และผู้ใช้นามแฝงว่า..ท. ปกรณ์ มาผยแพร่เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ร่วมกัน...
ม.ม้า คึกคัก
10.100.63.* [ 16 พ.ย. 2554 เวลา 13:19 ] ความเห็นที่
1
/#0090
เขียนตอบคำตอบนี้
ตอบ : #0090 -
ม.ม้า คึกคัก
[16 พ.ย. 2554]
ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 หมวด 5 มาตรา 352-356 พอสรุปสาระสำคัญ แยกเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้.-
1.ทรัพย์ต้องอยู่ในความครอบครองของผู้ยักยอก แล้วเบียดยังเอาทรัพย์นั้นเสีย
2.ทรัพย์อยู่ในความครอบครองของผู้กระทำก่อน แล้วมีเจตนาทุจริตเบียดบังเอาทรัพย์ภายหลัง
3.เป็นความผิดอันยอมความได้
4.กรณีของตกหาย ถ้าเก็บไปโดยไม่ทราบว่าเจ้าของกำลังติดตามหรือมีเหตุอันควรจะรู้ เป็นยักยอกทรัพย์
ม.ม้า คึกคัก
10.100.63.* [ 16 พ.ย. 2554 เวลา 13:22 ] ความเห็นที่
2
/#0091
เขียนตอบคำตอบนี้
ตอบ : #0091 -
ม.ม้า คึกคัก
[16 พ.ย. 2554]
คดียักยอกทรัพย์
มาตรา 352
ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่น เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าทรัพย์นั้นได้ตกมาอยู่ในความครอบครองของผู้กระทำความผิด เพราะผู้อื่นส่งมอบให้โดยสำคัญผิดไปด้วยประการใด หรือเป็นทรัพย์ สินหายซึ่งผู้กระทำความผิดเก็บได้ ผู้กระทำต้องระวางโทษแต่เพียงกึ่งหนึ่ง
ม.ม้า คึกคัก
10.100.63.* [ 16 พ.ย. 2554 เวลา 13:24 ] ความเห็นที่
3
/#0092
เขียนตอบคำตอบนี้
ตอบ : #0092 -
ม.ม้า คึกคัก
[16 พ.ย. 2554]
อายุความ
มาตรา 95
ในคดีอาญา ถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิด มายังศาลภายในกำหนดดังต่อไปนี้ นับแต่วันกระทำความผิดเป็นอัน ขาดอายุความ
(1) ยี่สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุก ตลอดชีวิต หรือจำคุกยี่สิบปี
(2) สิบห้าปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าเจ็ดปีแต่ ยังไม่ถึงยี่สิบปี
(3) สิบปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปี
(4) ห้าปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งเดือนถึง หนึ่งปี
(5) หนึ่งปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งเดือน ลงมาหรือต้องระวางโทษอย่างอื่น
ถ้าได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลแล้ว ผู้กระทำ ความผิดหลบหนีหรือวิกลจริต และศาลสั่งงดการพิจารณาไว้จนเกิน กำหนดดังกล่าวแล้วนับแต่วันที่หลบหนีหรือวันที่ศาลสั่งงดการพิจารณา ก็ให้ถือว่าเป็นอันขาดอายุความเช่นเดียวกัน
ม.ม้า คึกคัก
10.100.63.* [ 16 พ.ย. 2554 เวลา 13:25 ] ความเห็นที่
4
/#0093
เขียนตอบคำตอบนี้
ตอบ : #0093 -
ม.ม้า คึกคัก
[16 พ.ย. 2554]
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7968-7969/2538
จำเลยมีหน้าที่จัดเก็บค่าบำรุงสมาชิกและค่าตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำพร้อมทั้งนำเงินดังกล่าวมาฝากธนาคารเข้าบัญชีโจทก์ร่วมในแต่ละวัน ดังนั้นในแต่ละวันแม้จำเลยจะออกใบเสร็จรับเงินให้แก่สมาชิกไม่ตรงกับจำนวนเงินที่รับจากสมาชิกกี่ฉบับก็ตาม แต่การจะตรวจสอบรู้ว่าจำเลยยักยอกเงินไปจำนวนเท่าใดก็ต้องดูจากยอดเงินที่จำเลยนำฝากธนาคารในแต่ละวันว่าขาดหายไปเท่าใด ดังนั้นจึงฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดฐานยักยอกในแต่ละวันเพียงกรรมเดียวเท่านั้น เมื่อจำเลยกระทำผิดฐานยักยอก 68 วัน จำเลยจึงมีความผิดฐานยักยอก 68 กรรม หรือกระทง
การปลอมเอกสารสิทธิจำเลยกระทำไปเพื่อปกปิดการกระทำผิดของจำเลยที่ได้ยักยอกเงินของโจทก์ร่วมไปเป็นการกระทำที่เกี่ยวกับการที่จำเลยยักยอกเงินดังกล่าว โดยมีเจตนาจะใช้เอกสารสิทธิปลอมที่ทำขึ้นเป็นหลักฐานเพื่อยักยอกเงินของโจทก์ร่วมนั่นเอง ความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิกับความผิดฐานยักยอกจึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
ม.ม้า คึกคัก
10.100.63.* [ 16 พ.ย. 2554 เวลา 13:27 ] ความเห็นที่
5
/#0094
เขียนตอบคำตอบนี้
ตอบ : Q0117 -
คน มอ
[15 พ.ย. 2554]
ขอบคุณมากครับสำหรับคำตอบ แล้วไม่มีข้อมูลหรือตัวอย่าง
ของสำนักตรวจสอบบ้างหรอว่าประสบการณ์แต่ละท่านที่ไปลงตรวจ
พบเจออะไรมาบ้าง ยากหรือง่าย ยังไง
คน มอ
10.100.63.* [ 16 พ.ย. 2554 เวลา 13:35 ] ความเห็นที่
6
/#0095
เขียนตอบคำตอบนี้
ตอบ : Q0117 -
คน มอ
[15 พ.ย. 2554]
ความผิดที่ต้องรับนั้น ไม่แน่ใจตายตัว แต่การยักยอกเงินไม่ว่าจะเงินรายได้หรือเงินแผ่นดิน ย่อมมีความผิดทั้งนั้น เท่าที่ทราบคือ เมือพบว่ามีเงินขาดหายไปแล้ว จะต้องตั้งกรรมการสอบหาข้อเท็จจริงเพื่อให้ทราบผู้รับผิด จากนั้นจะเรียกเงินคืนหรือให้ออกจากราชการ หรืออย่างอื่น จะหนักจะเบาน่าจะอยู่ที่จำนวนเงินที่ยักยอกไป แต่เท่าที่เห็นหรือแอบรู้มา คือคนที่ทำความผิดก็ยังคงลอยหน้าลอยตาอยู่ก็มี ซึ่งอาจเพราะความช่วยเหลือของคนในหรืออะไรก็แล้วแต่ แต่เชื่อเถอะว่าสิ่งที่แน่นอนที่สุด ความรู้ดีที่สุดในใจของผู้กระทำความผิดนั้น และ "เวรกรรม" ที่เดินตามคนผู้นั้น ตั้งแต่สตางค์แรกที่คนผู้นั้นได้ยักยอกไป....ฉะนั้น ทุกท่านจงพึงสังวรไว้เถอะว่า ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นานนน......Thanksssssss
ผู้น้อย
10.100.63.* [ 16 พ.ย. 2554 เวลา 13:42 ] ความเห็นที่
7
/#0097
เขียนตอบคำตอบนี้
ตอบ : Q0117 -
คน มอ
[15 พ.ย. 2554]
ได้ความรู้มากเลย กระจ่างแล้ว ขอบคุณมากกกกกกกกกก
คน มอ
10.100.63.* [ 16 พ.ย. 2554 เวลา 17:04 ] ความเห็นที่
8
/#0098
เขียนตอบคำตอบนี้
ขอเชิญร่วมตอบคำถาม
เขียนตอบ
Q0117 - คน มอ [15 พ.ย. 2554]
#0090 - ม.ม้า คึกคัก [16 พ.ย. 2554]
#0091 - ม.ม้า คึกคัก [16 พ.ย. 2554]
#0092 - ม.ม้า คึกคัก [16 พ.ย. 2554]
#0093 - ม.ม้า คึกคัก [16 พ.ย. 2554]
#0094 - ม.ม้า คึกคัก [16 พ.ย. 2554]
#0095 - คน มอ [16 พ.ย. 2554]
#0097 - ผู้น้อย [16 พ.ย. 2554]
#0098 - คน มอ [16 พ.ย. 2554]
ความคิดเห็น
ชื่อ
E-mail
ส่งไฟล์ภาพ
(รูป 500 Kb, Flash 100 Kb)
การจัดภาพ
ชิดซ้าย
กึ่งกลาง
ชิดขวา
คลิกที่รูป เพื่อแทรกรูปลงในข้อความ
[
ปิดหน้าต่างนี้
]
<< กรุณาใช้คำสุภาพ >>