ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ฯ

ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจและอำนาจหน้าที่

 

 

ปรัชญา (Philosophy)

. ..............,มุ่งเน้นการตรวจสอบที่ทันสมัย สร้างความมั่นใจแก่องค์กร

ปณิธาน (Determination) ..

.................ยึดมั่นในจริยธรรม สร้างความเข้มแข็งให้องค์กร

วิสัยทัศน์ (Vision) .

.............มุ่งสร้างระบบการควบคุมภายในที่ดี ให้ความเชื่อมั่น ให้คำปรึกษาอย่างเที่ยงธรรม
และเป็นอิสระ เพื่อประโยชน์สูงสุดของมหาวิทยาลัย

พันธกิจ . .

.............1. มุ่งเสริมสร้างกระบวนการกำกับดูแลที่ดี และมีความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน
.............2. มุ่งให้หลักประกันอย่างเที่ยงธรรม และคำปรึกษาอย่างเป็นอิสระ
.............3. มุ่งเน้นพัฒนาระบบการตรวจสอบภายในให้มีมาตรฐานและเพิ่มมูลค่าให้แก่องค์กร
.............4. ปฏิบัติหน้าที่ผู้ตรวจสอบภายในให้เป็นไปตามมาตรฐานการตรวจสอบภายในของส่วนราชการ

ยุทธศาสตร์ (Strategy Directions)

..............1. พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ และยกระดับการบริหารจัดการมหาวิทยาลัย
ตามหลักธรรมาภิบาล
..............2. ส่งเสริมภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยให้ได้รับการยอมรับและพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยในระดับสากล
..............3. การพัฒนาสู่มหาวิทยาลัยสีเขียวและรักษ์สิ่งแวดล้อม
..............4. อนุรักษ์ฟื้นฟูและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นในฐานะ
ทุนทางวัฒนธรรม ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อสังคม

วัตถุประสงค์ (Objectives)

...............ให้ข้อมูลสารสนเทศและคำปรึกษาต่อผู้บริหารทุกระดับในการพัฒนา การตรวจสอบภายใน การประเมินความเสี่ยง การควบคุมภายใน และการกำกับดูแลที่ดี โดยมุ่งเน้นการตรวจสอบอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เพื่อประโยชน์สูงสุดของมหาวิทยาลัย

กลยุทธ์ (Strategy)

.............1. ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการกำกับดูแล การตรวจสอบภายใน การควบคุมภายใน การประเมินและการบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยฯ ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
.............2. ส่งเสริมให้การปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัยฯ ถูกต้องตามกฎ ระเบียบ อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่องค์กร
.............3. ส่งเสริมให้การบริหารทรัพยากรของมหาวิทยาลัยฯ เป็นไปอย่างคุ้มค่าและก่อให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม
.............4. นำเอามาตรฐานการตรวจสอบภายใน และจริยธรรมการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน มาใช้ปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบภายในให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
.............5. ศึกษา พัฒนาวิธีการประเมินระบบการควบคุมภายใน และการบริหารความเสี่ยง ตามคู่มือการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และสอดคล้องเป็นไปตามแนวทางการจัดวางระบบการควบคุมภายในและการประเมินผลการควบคุมภายใน

นโยบายการบริหารงาน

............การตรวจสอบภายในเป็นเครื่องมือสำคัญของฝ่ายบริหารในการตรวจสอบ ติดตา ประเมินผล
การดำเนินงานภายในส่วนราชการ เพื่อให้ผลการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด และการสนับสนุน
ส่งเสริมให้การปฏิบัติงานในทุกระดับของหน่วยงานในส่วนราชการบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายอย่างมี
ประสิทธิภาพ มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าภายใต้การบริหารความเสี่ยง การควบคุมและกำกับดูแลที่ดี
เหมาะสม และมีประสิทธิผล ดังนั้น สำนักตรวจสอบภายในจึงกำหนดนโยบายการบริหารงานเพื่อใช้เป็น
แนวทางในการปฏิบัติงาน สามารถตอบสนองและสนับสนุนภารกิจหลักของมหาวิทยาลัย ดังต่อไปนี้
.............1. การเสริมสร้างให้มีระบบบริหารจัดการที่ดี โดยากรตรวจสอบเพื่อให้ทราบ แสดงความคิดเห็นและ
ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารและการดำเนินงาน เป็นไปตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศที่เกียวข้อง แผนงาน/โครงการ วัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยโดยประหยัด บรรลุผลตามเป้าหมายและคุ้มค่า
.............2. การปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นอิสระและเป็นกลาง เป็นไปตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่ทางราชการกำหนด
ยึดมั่นในมาตรฐานการตรวจสอบภายในและจริยธรรมการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในของส่วนราชการ
.............3. ส่งเสริมสนับสนุนให้การตรวจสอบและการรายงานผลการตรวจสอบเป็นไปอย่างถูกต้อง รวดเร็ว รัดกุม และสร้างสรรค์ มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพเพียงพอที่จะป้องกันความเสียหาย และแก้ไขทันต่อเหตุการณ์
.............4. การตรวจสอบภายในมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการตรวจสอบดำเนินงาน การตรวจสอบสารสนเทศ
และเทคโนโลยี การตรวจสอบการบริหารจัดการ การปฏิบัติตามกฎระเบียบ และการให้คำปรึกษา
.............5. การนำระบบฐานข้อมูลสารสนเทศ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในกระบวนการ
ตรวจสอบ และการให้คำปรึกษา
.............6. ส่งเสริมให้บุคลากรมีความรู้ ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของการตรวจสอบภายในตามมาตรฐาน
การตรวจสอบภายในและจริยธรรมการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในของส่วนราชการ
.............7. การสอบทานและการประเมินการบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายใน และการกำกับดูแลกิจการ
โดยครอบคลุมถึงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกียวข้อง เพื่อให้ฝ่ายบริหารมีความมั่นใจว่า
.................-- การดำเนินงานและการใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างประหยัด มีประสิทธิภาพ และคุ้มค่า
.................-- มีการดูแลรักษาทรัพย์สินและผลประโยชน์ขององค์กร มิให้เกิดความเสียหาย หรือการสูญหาย
.................-- ข้อมูลทางการเงิน มีการดำเนินงานโดยถูกต้อง ครบถ้วน และเชื่อถือได้
.................-- มีการปฏิบัติตามนโยบาย แผน วิธีการปฏิบัติงาน กฎหมายและระเบียบต่าง ๆ
.................-- การบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายใน และการกำกับดูแลกิจการอย่างมีประสิทธิผลและ
มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
.............. 8. พัฒนาระบบงานและสมรรถนะของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อมุ่งเน้นให้มีศักยภาพในการปฏิบัติ
ราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างมืออาชีพ

..อำนาจหน้าที่

1. สำนักตรวจสอบภายในมีหน้าที่ในการตรวจสอบการปฏิบัติงานของหน่วยรับตรวจทุกหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย
มหาสารคาม และมีสิทธิเข้าถึงข้อมูล บุคคล ทรัพย์สิน และสถานที่ รวมทั้งการสอบถาม
การขอเอกสารหลักฐาน ตลอดจนข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของหน่วยรับตรวจ เพื่อประโยชน์ต่องานตรวจสอบภายใน
2. สำนักตรวจสอบภายในมีหน้าที่สอบทานการปฏิบัติงานของหน่วยรับตรวจให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์กระทรวงการคลัง
ว่าด้วย มาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการควบคุมภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ นโยบายวิธีการปฏิบัติงาน ระบบการควบคุมภายใน
และการบริหารความเสี่ยง ตลอดจนให้คำปรึกษาแนะนำแก่หน่วยรับตรวจ
 
3. สำนักตรวจสอบภายในต้องปฏิบัติงานและเสนอความเห็นในการตรวจสอบภายในต่ออธิการบดีและฝ่ายบริหารด้วยความ
เป็นอิสระ ไม่มีส่วนได้เสียในกิจกรรมที่ตรวจสอบ ปราศจากการแทรกแซงในการปฏิบัติงานของอธิการบดีและฝ่ายบริหาร
หรือบุคคลหนึ่งบุคคลใด
และไม่ควรเป็นกรรมการในคณะกรรมการ
ใด ของมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานในสังกัดมหาวิทยาลัย อันจะมีผลกระทบต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติงานและการเสนอความเห็นรวมทั้งต้องไม่ตรวจสอบงานที่ตนเคยทำหน้าที่
บริหาร หรือปฏิบัติงานภายในระยะเวลาหนึ่งปีก่อนการตรวจสอบ
 
4. กรณีมีความจำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญมาร่วมปฏิบัติงานตรวจสอบ ให้เสนอขอบเขตและรายละเอียดของงาน คุณสมบัติของผู้รับจ้าง ระยะเวลาดำเนินการ และผลงานที่คาดหวังจากผู้รับจ้างรวมทั้งข้อเสนอโครงการของ
ผู้รับจ้างให้อธิการบดี พิจารณาอนุมัติให้ว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญต่อไป โดยมีความเป็นอิสระและความเป็นกลางเช่นเดียวกับ
ผู้ตรวจสอบภายในของ สำนักตรวจสอบภายใน
 
5. ให้ปฏิบัติงานตรวจสอบให้เป็นไปตามแผนการตรวจสอบประจำปีที่ได้รับอนุมัติ

 

 

ปรึกษาได้ เข้าใจงาน